Subscribe Us

header ads

แผนที่ 7 ความหมายและความสำคัญของแนวคิดเชิงคำนวณ

 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

1. นักเรียนทราบระเบียบการใช้ห้องเรียน

1.1 ห้ามนำอาหาร ของขบเคี้ยว ของกินทุกประเภท กระเป๋านักเรียน เข้ามาในห้อง 

1.2 น้ำดื่มอนุโลมให้นำเข้ามาได้ แต่ต้องเก็บออกไปด้วยทุกครั้ง 

1.3 คาบนี้มีการใช้โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงาน แต่ตอนนี้เก็บไว้ก่อน 

1.4 ไม่ควรใช้คำหยาบ

2. นักเรียนได้รับข่าวสารเพื่อนำเข้าสู่บทเรียน

           นางบุญตรี  กล่าวว่า เป็นชาว จ.อุดรธานี  เข้ามาทำงานที่กรุงเทพมหานคร เป็นช่างเย็บผ้า ส่วนสามีมาเช่ารถ 2 แถววิ่งรับส่งผู้โดยสารย่านมีนบุรี  โดยก่อนเกิดวิกฤตโควิด ตัวเองและสามีไม่เคยมีหนี้สินแต่อย่างใด ทำงานส่งลูกทั้ง 2 คนเรียนหนังสือได้อย่างปกติ  ต่อมาเกิดวิกฤตโควิด ออเดอร์เย็บผ้าถูกยกเลิก จากที่เคยมีรายได้เดือนละ 20,000 บาท เหลือรายได้เพียง 3,000 - 5,000 บาท / เดือน  ทำให้รายได้ไม่พอกับรายจ่าย  จึงต้องนำเงินเก็บออกมาใช้จ่ายในครอบครัวจนหมด

เมื่อเงินหมดจึงเริ่มเข้าสู่วงจรการกู้เงินรายวัน โดยครั้งแรกกู้มา 10,000 บาท เพื่อมาจ่ายค่าเช่าบ้านย โดยต้องจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 60 ต่อเดือน (จ่ายดอกวันละ 200 บาททุกวันจนกว่าจะมีเงินต้นมาคืน) กระทั้งบางวันสามีป่วยไม่ได้วิ่งรถต้องค้างค่าดอก  ทำให้แก๊งปล่อยเงินกู้ไม่พอใจข่มขู่จะทำร้าย  จึงตัดสินใจไปขอกู้เงินจากเซลล์ปล่อยเงินกู้เจ้าอื่นเพื่อนำเงินมาจ่ายค่าดอกที่ค้างไว้กับเจ้าแรก วนไปอยู่แบบนี้จนเป็นงูกินหาง ไม่มีวันจบสิ้น

ล่าสุดเป็นหนี้เซลล์ 7 รายๆละ 10,000 บาท รวม 70,000 บาท โดยหนี้ทั้งหมด ตนไม่เคยนำมาใช้อย่างอื่นเลยนอกจากนำมาจ่ายเป็นค่าดอกเงินกู้นอกระบบ โดยปัจจุบันตนเป็นหนี้ 70,000 บาท ต้องหาเงินมาจ่ายค่าดอกวันละ 2,000 บาท ตนและสามีกัดฟันอดทนหาเงินมาจ่ายค่าดอกอยู่แบบนี้มานานกว่าครึ่งปี จนดอกทบต้นไปแล้วหลายเท่า แต่ก็ไม่มีวี่แววที่จะมีเงินต้นมาคืนได้ จนเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาตนล้มป่วยไม่ได้ทำงานทำให้ไม่มีเงินมาจ่ายค่าดอก จึงถูกเซลล์ข่มขู่จะทำร้ายร่างกายตนและครอบครัว โดยก่อนหน้านี้มีเพื่อนบ้านเคยถูกเซลล์ปล่อยเงินกู้กลุ่มนี้รุมทำร้ายร่างกายจนได้รับบาดเจ็บปางตายมาแล้ว


3. นักเรียนตอบคำถามพื่อกระตุ้นความคิด

              คำถามที่ 1 นักเรียนคิดว่า “ปัญหาคืออะไร”    

        คำถามที่ 2 นักเรียนคิดว่า “หากนักเรียนอยู่ในสถานการณ์ดังตัวอย่าง นักเรียนจะทำอย่างไร”

ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้

4. นักเรียนได้ศึกษาเรื่อง ความหมายและความสำคัญของแนวคิดเชิงคำนวณ

 จากแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 ในเว็บไซต์ witclass.blogspot.com

5. ความหมายและความสำคัญของแนวคิดเชิงคำนวณ

  5.1) ความหมาย ของแนวคิดเชิงคำนวณ

= แนวคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) คือ แนวคิดในการแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ เป็นกระบวนการที่มีลำดับขั้นตอนชัดเจน โดยกระบวนการแก้ปัญหาดังกล่าวนี้เป็นกระบวนการที่ทั้งมนุษย์และคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจร่วมกันได้

5.2) ความสำคัญของแนวคิดเชิงคำนวณ

= แนวคิดเชิงคำนวณเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาที่มีวิธีแก้ไขที่เป็นลำดับขั้นตอนมากกว่าเป็นการสร้างผลลัพธ์ แนวคิดลักษณะนี้ไม่เพียงนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ได้เท่านั้น แต่สามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกสถานการณ์

5.3) องค์ประกอบของแนวคิดเชิงคำนวณ

=  แนวคิดเชิงคำนวณมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน ได้แก่

        1. แนวคิดการแยกย่อย(Decomposition) การแตกปัญหาใหญ่ออกเป็นปัญหาย่อย ให้ปัญหานั้นมีขนาดเล็กลงเพื่อให้สามารถจัดการปัญหาในแต่ละส่วนได้ง่ายขึ้น

        2. แนวคิดการหารูปแบบ(Pattern Recognition) การกำนดแบบแผนหรือรูปแบบที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันจากปัญหาแต่ละส่วนย่อยต่าง ๆ กล่าวคือ ปัญหาย่อยแต่ละปัญหานั้นสามารถใช้รูปแบบในการแก้ปัญหาที่คล้ายคลึงกันได้

        3. แนวคิดเชิงนามธรรม(Abstraction) การหาแนวคิดเชิงนามธรรมหรือแนวคิดรวบยอดของปัญหา ซึ่งเป็นการกำหนดหลักการทั่วไป มุ่งเน้นเฉพาะส่วนที่สำคัญของปัญหำ โดยไม่สนใจรายละเอียดที่ไม่จำเป็น

        4. แนวคิดการออกแบบขั้นตอนวิธี(Algorithm Design) การออกแบบลำดับขั้นตอนการแก้ปัญหาด้วยการใช้แนวคิดการออกแบบขั้นตอนวิธี เป็นแนวคิดที่สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาที่มีลักษณะแบบเดียวกันได้

6. นักเรียนทำแบบทดสอบแผนที่ 7

7. นักเรียนทำกิจกรรมแผนที่ 7 


ขั้นสรุปความรู้

8. นักเรียนได้รับผลสะท้อนกลับในกิจกรรมที่ทำ

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น